Digital Footprint – ประวัติดิจิทัลของคุณ โอกาส และความเสี่ยงทางธุรกิจ

ทุกการกระทำ และ ทุกร่องรอยบนโลกอินเตอร์เน็ตมีความหมาย

Digital Footprint

เคยไหม… เวลาที่คุณต้องการรู้จักประวัติใครสักคน แล้วอยากจะหาข้อมูลคน ๆ นั้นเพิ่ม จึงไปค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ?
เคยไหม… เวลาที่อยากกินอะไรสักอย่าง แต่ไม่รู้จะไปหาที่ไหน เลยค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ?
เคยไหม.. ที่อยากไปพักผ่อนกับครอบครัว แต่ไม่รู้จะไปไหน เลยหาสถานที่เที่ยวสวย ๆ ที่คนแนะนำทางอินเตอร์เน็ต?

เชื่อว่าถ้าถามคำถามนี้ในสมัยก่อน คุณอาจจะนึกภาพไม่ออก และอาจจะส่ายหัว แต่คำถามเหล่านี้ กับกลายเป็นพฤติกรรมธรรมดาทั่วไป ที่เกิดขึ้นกับคนในสังคม ที่ใช้ชีวิตเชื่อมโยงโลกทางกายภาพและโลกออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของกันและกันอย่างกลมกลืน และการค้นหาข้อมูลหลายๆอย่างที่เจอบนอินเตอร์เน็ตเนี่ยแหละ คือ Digital Footprint ที่ถูกสร้างไว้อย่างตั้งใจให้คุณหาเจอ

เคยคิดไหม … สถานที่ๆคุณชอบไปเที่ยวคือที่ไหน ชอบกินอะไร ชอบอยู่กับใคร ไม่ได้เป็นความลับอีกต่อ
เคยคิดไหม … เวปไซต์ที่คุณเข้าไปดูครั้งล่าสุด ของที่คุณซื้อมาครั้งสุดท้าย ก็อาจจะไม่ยากเกินไปที่คนอื่นจะรู้ได้
เคยคิดไหม … เรื่องราวที่คุณเคยคุยกับเพื่อนเมื่อ 3 เดือนก่อน สิ่งที่คุณเคยทำเมื่อ 5 ปีที่แล้ว คนอื่นสามารถย้อนกลับไปดูได้

สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป เพราะว่าในโลกเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความสะดวกสบาย และเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด และทำให้สามารถเสนอข้อมูล สินค้า หรือ บริการที่เหมาะสมเฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคลได้ แต่การแลกมาซึ่งความพิเศษในได้รับอย่างที่กล่าวมานั้น เราได้อนุญาตให้คอมพิวเตอร์ เวปไซต์ โปรแกรมเมอร์ หรือ แม้แต่คนทั่วไปธรรมดาสามารถรู้ข้อมูลส่วนตัวของคุณได้ และคุณอาจไม่เคยรู้ตัวว่าสิ่งที่คุณทำ คุณเขียน ดู หรือ อ่านได้ถูกจับตาเฝ้ามองอยู่ตลอดเวลา และนั่นคือ Digital Footprint ที่คุณสร้างเอาไว้แบบไม่ได้ตั้งใจ และนั่นก็เปรียบเสมือบดาบสองคม ให้ทั้งคุณประโยชน์ที่ทำให้คุณใช้เทคโนโลยีได้อย่างสะดวก และให้โทษหากคุณไม่ระวังตัว เพราะสิ่งที่คุณทำไว้นั้นถูกบันทึกเอาไว้เสมอเป็นอย่างดี

Digital Footprint คืออะไร ?

“Digital Footprint” หรือที่หลายๆคนจะชอบเรียกว่า “ร่องรอยดิจิทัล” คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ บนโลกอินเตอร์เน็ตที่คุณทำทิ้งไว้ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น  ข้อความที่โพสต์, เว็บไซต์ที่คุณเข้าอยู่ทุกวัน, ข่าวที่คุณเปิดอ่าน ทุก ๆ รายละเอียดและทุกพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของคุณจะถูกบันทึก และถูกค้นหาบนโลกอินเตอร์เน็ตด้วยบุคคลอื่นได้ง่าย เปรียบเสมือนประวัติของคุณบนโลกอินเตอร์เน็ต จึงเป็นที่มาที่ พวกเราอยากจะตั้งชื่อภาษาไทยให้ Digital Footprint ว่า “ประวัติดิจิทัล” 

ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจ ความเชื่อมโยงต่าง ๆ ระหว่างประวัติดิจิทัล และการทำธุรกิจ เราอยากให้คุณทำความเข้าใจประเภทของประวัติดิจิทัลกันก่อน

ประวัติดิจิทัล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

1. ประวัติดิจิทัลแบบไม่รู้ตัว  (Passive Digital Footprint)
เป็นประวัติหรือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ที่คุณไม่ได้ตั้งใจที่จะทิ้งไว้ หรือ ไม่ได้ต้องการจะให้คนอื่นรับรู้ แต่ยังคงถูกบันทึกเก็บเป็นประวัติบนออนไลน์ไว้ เช่น เวลาใช้งานอินเตอร์เน็ต หรือ คอมพิวเตอร์ที่จะมีรหัสประจำตัวในการใช้งาน (IP address) ซึ่งเมื่อเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือค้นหาบริการอะไร จะมีประวัติการค้นหาต่าง ๆ ถูกเก็บบันทึกไว้อยู่ ทำให้ถูกติดตาม หรือ ระบุตัวตนคนใช้งานได้ ซึ่งหลายๆครั้งก็จะโดนนักการตลาดนำข้อมูลไปใช้เพื่อทำการโฆษณาต่อไปอีกด้วย

2. ประวัติดิจิทัลแบบตั้งใจทำ (Active Digital Footprint)
เป็นประวัติ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจหรือรู้ตัว เช่น การโพสต์ข้อความบน Social Media, เขียนข้อความต่าง ๆ ส่งหาเพื่อนทางออนไลน์ หรือ การส่งอีเมลหาบุคคลอื่น ซึ่งเป็นช่องทางที่สามารถจะรับรู้ได้ชัดเจนถึงการกระทำ หรือ ประวัติที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะมีข้อมูลอยู่ในอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา และสามารถถูกเข้าถึงได้โดยใครก็ตาม

Business’s Digital Footprint

เนื่องจากทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ตนั้นสามารถถูกค้นหาเจอได้ มันจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับธุรกิจเป็นอย่างมากว่า ชื่อเสียงบนโลกออนไลน์นี้เป็นอย่างไร ได้มีการบริหารจัดการประวัติดิจิทัลนี้ได้เหมาะสมหรือไม่ เพราะเหรียญมี 2 ด้านเสมอ เรื่องที่เราอยากให้รู้อาจกลับค้นไม่เจอ ส่วนเรื่องที่คนทั่วไปหาเจอ เราอาจจะไม่ได้รู้สึกตั้งใจอยากจะเผยแพร่ขนาดนั้น เรามาดูกันว่า มีเรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับ Digital Footprint ที่ธุรกิจต้องสามารถนำมาใช้เพิ่ม Digital Footprint และต้องระวังให้ดี

Brand and Product Presence : ระวังคนอื่นทำการตลาดบนธุรกิจเรา

เรื่องพลาดหลักๆที่หลายธุรกิจไม่คิดก็คือ ธุรกิจคุณอาจจะไม่ได้เน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์ แต่ลองนึกภาพตามดูว่าธุรกิจคุณเปิดมามีชื่อเสียงกว่า 30 หรือ 50 ปี ทุกคนรู้จักคุณหมดถ้าอยู่ในวงการ แล้วมาวันหนึ่ง มีธุรกิจหน้าใหม่พึ่งเปิดทำธุรกิจแบบเดียวกัน

เพียงแต่ว่าไม่ว่าลูกค้าคุณจะ Search หาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับคุณอย่างไรก็หาไม่เจอ หรือ เจอน้อยมาก แต่เจอคู่แข่งรายใหม่อยู่ทุกที่ มีทั้งเวปไซต์ มีโซเชียลมีเดีย มีรีวิวการบริการจากลูกค้ามากมาย และมีคนพูดถึงในอินเตอร์เน็ตในหลายๆที่ การันตีได้เลยว่า ถ้าธุรกิจคุณไม่ใช่ธุรกิจกึ่งผูกขาด ที่สามารถทำได้อยู่เพียงไม่กี่เจ้าเท่านั้น ไม่นานยอดขายคุณสะเทือนแน่นอนในอนาคตอันใกล้นี้

ลองมาดูเทคนิคต่างๆที่คนทำธุรกิจที่ไม่สนใจเรื่อง Digital Footprint อาจจะต้องโดนอย่างเจ็บปวดกันแน่ๆ ว่ามีอะไรบ้าง

ตัวอย่างที่ 1 : การซื้อ Google Ads Keyword โดยคู่แข่ง

ถ้าธุรกิจ หรือ แบรนด์ของคุณมีคำเฉพาะที่เป็นจุดเด่นของแบรนด์เช่น ชื่อแบรนด์ หรือชื่อสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์และกำลังเป็นที่นิยม อาจมีคู่แข็ง หรือ ธุรกิจที่ขายสินค้าใกล้เคียงมาประมูลซื้อ keyword ของคุณผ่าน Google Ads ทำให้เมื่อค้นหาคำดังกล่าวก็จะปรากฎโฆษณาของแบรนด์นั้นๆ ขึ้นมาก่อนแบรนด์ของคุณ ในเหตุการณ์นี้คุณอาจเสียลูกค้าไปให้คู่แข่งอย่างมหาศาล ถ้าคุณไม่มีการดูแล Digital Footprint ของคุณตรงนี้

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงกับฟาสต์ฟู้ดชื่อดังระดับโลกที่ขายไก่ทอด แต่ไม่ได้ทำการดูแล Digital Footprint ของตัวเองในช่วงนั้นทำให้คู่แข่งที่ขายเบอร์เกอร์รายใหญ่มาซื้อ Keyword ไก่ทอดไป มาทำโฆษณาอยู่บนธุรกิจได้อย่างซึ่งๆ หน้า 

ตัวอย่างที่ 2 : ประชาสัมพันธ์ใน Youtube Channel 

การทำให้คู่แข่งสามารถมาซื้อโฆษณา Youtube ของช่องคุณได้ และโฆษณาสินค้า/บริการของเขา ยกตัวอย่างเช่น คุณทำสำนักงานบัญชี และได้ทำคลิปสอนเรื่องบัญชีลง Youtube เพื่อที่จะได้หากลุ่มลูกค้าที่ใหญ่ขึ้น สิ่งที่คุณห้ามลืมเด็ดขาดคือการตั้งระบบโฆษณาว่าไม่ให้ช่องอื่นๆ มาโฆษณาบนช่องคุณได้ (ถึงแม้คุณจะได้ค่าตอบแทนจาก Youtube ก็ตาม) เพราะนี้คืออีกจุดรั่วไหลของลูกค้าในอนาคต 

แต่ในทางกลับกันคุณควรจะซื้อโฆษณา บน Youtube Channel คนอื่นที่อาจมีฐานลูกค้าเดียวกับของคุณเสมอ เพราะคุณคือคนที่ควรสร้าง Digital Footprint นี้ตลอดเวลาเมื่อคู่แข่ง และคนอื่นไม่ได้ทำมัน

ตัวอย่างที่ 3 : การใช้ Authority Figure
อีกหนึ่งวิธีในการเพิ่ม Digital Footprint ขอคุณคือการนำแบรนด์ให้เข้าให้เข้าไปอยู่บนเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็นการลงโฆษณารีวิว หรือการซื้อพื้นที่โฆษณา แม้แต่การ Sponsor เว็บไซต์นั้นๆ 
หรือ แม้แต่การทำกิจกรรมร่วมกับ influencer blogger youtuber ก็ทำได้ โดยเข้าไปทำ content ร่วมกับเพจเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำคลิปสัมภาษณ์ การทำ content ร่วมกันก็ตาม เพราะว่าเป็นการสร้าง Digital Footprint ใน แหล่งฐานผู้ติดตามใหม่ๆจากผู้ติดตามเดิมของคนอื่นๆ

ตัวอย่างที่ 4 : การใช้ประโยชน์จาก Marketplace
ในยุคสมัยนี้พฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปจับจ่ายใช้สอยบน Marketplace มากขึ้น เช่น Lazada และ Shopee เป็นต้น เพราะสามารถค้นหาสินค้าที่ต้องการได้อย่างง่าย 

สิ่งที่เจ้าของสินค้าหลายคนมักคาดไม่ถึงว่าผู้บริโภคของคุณนั้น อาจกำลังตามหาสินค้าแบบคุณบนแพลตฟอร์มเหล่านี้อยู่ แต่คุณไม่ได้ลงไปขายในช่องทางนั้นๆ ทำให้เกิดรูโหว่ให้คู่แข่งที่ขายสินค้าใกล้เคียงได้ตลาดตรงนี้ไป  คุณอาจมองว่าการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองนั้นไม่ต้องเสียค่าคอมมิชชันให้ใครเพิ่ม แต่อย่าประมาทไป เพราะเดี๋ยวนี้ Marketplace เหล่านี้ทำ Digital Footprint ไว้ดีมาก เวลาคนค้นหาสินค้าต่างๆ บน Google ก็มักจะขึ้นมาเป็นรายการแรกๆ ให้เห็นกันเลย ฉะนั้นจงอยู่ให้ครบทุกที่ที่ลูกค้าอยู่เพื่อไม่เสียโอกาสให้กับแบรนด์อื่นมาชิ่งไป

Keyman Reputation : ชื่อเสียงตัวละครหลัก

ยิ่งธุรกิจของคุณมีชื่อเสียงมากเท่าไหร่ ลูกค้าอาจสนใจ และเริ่มค้นหา เพื่ออยากรู้จักคุณให้มากขึ้นเท่านั้น เจ้าของธุรกิจหลายคนละเลยที่จะดูแลสิ่งเหล่านี้ ชื่อเสียงก็เปรียบเสมือนดาบสองคม โดยเฉพาะชื่อเสียงที่ถูกเก็บในรูปแบบ Digital Footprint หากไม่จัดการให้ถูกต้อง คุณอาจจะเจอฝันร้ายที่ไม่ทันตั้งตัวกันเลยทีเดียว

การบริหารจัดการ Digital Footprint ของตัวละครหลักจึงเป็นสิ่งจำเป็น มาดูวิธีต่างๆ ที่คุณสามารถทำได้เพื่อสร้าง Digital Footprint จากชื่อเสียงของตัวละครหลักกัน

CEO / Keyman Marketing 
ชื่อของ CEO / Co-Founder มักเป็นสิ่งที่หลายๆ คนอยากจะค้นหาเพื่อรู้จักแบรนด์ให้มากขึ้น สิ่งที่ธุรกิจควรเตรียมให้พร้อมคือข้อมูลเชิงบวกที่จะช่วยให้ภาพลักษณ์ของธุรกิจดียิ้งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำคลิปบทสัมภาษณ์ CEO การออกสื่ออนไลน์ หรือการที่ไปร่วมเป็นแขกรับเชิญกับช่องทางต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งเหล่านั้นล้วนเป็น ประวัติดิจิทัลแบบตั้งใจทำ (Active Digital Footprint) ที่ต้องการให้คนอื่นได้พบเห็น และเข้าถึงได้

แล้ววิดีโอส่วนตัวที่ CEO ท่านนั้นได้ไปเที่ยวกับเพื่อนๆ ที่ชายหาดเมื่อหน้าร้อนที่แล้ว หรือ ข้อความบ่นคลาสเรียนสมัยมหาวิทยาลัย ที่ได้โพสไว้ในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆล่ะ ? ตั้งใจให้ใครก็ตามเข้าถึงหรือเปล่า ? และถึงแม้ว่าจะตั้งสถานะการเข้าถึงให้เฉพาะเพื่อน และคนรู้จักเท่านั้น  คุณมั่นใจได้อย่างไรว่า ข้อมูลเหล่านี้จะไปหลุดออกไปภายนอกในอนาคต 

ยิ่งชื่อเสียงมากขึ้น ความเสี่ยงต่างๆก็มากขึ้นตามเช่นกัน และนั้นคือสาเหตุที่คุณต้องรู้จักการจัดการ Digital Footprint ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณให้ได้เป็นอย่างดี

Presenter / Brand Ambassador

นอกจาก Keyman แล้ว ผู้ที่นำเสนอแบรนด์ของคุณเช่น Presenter และ Influencer มักมีฐานแฟนคลับจำนวนมหาศาล ทุกๆ ครั้งที่มีการทำ campaign ร่วมกันอย่าลืมให้พรีเซนเตอร์ลงลิงก์ที่สามารถคลิกกลับมาที่เว็บไซต์ หรือช่องทาง social media ของคุณ เช่นการ tag ใน facebook หรือ instagram แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ อย่าลืมกำหนดเงื่อนไขการแสดงออกที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ของคุณอย่างเคร่งครัด เนื่องจาก หากมีการกระทำใดที่ส่งภาพลักษณ์ที่แย่ หรือ ไม่เป็นที่พอใจต่อฐานลูกค้าของธุรกิจคุณแล้ว สิ่งเหล่านั้นอาจจะส่งผลกระทบโดยตรงกับสินค้า และธุรกิจของคุณด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องที่ Sensitive ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา และเรื่องละเอียดอ่อนใดๆในสังคม

เทคนิคพื้นฐานการบริหาร Digital Footprint

หลังจากที่ทุกคนคงจะเข้าใจความสำคัญของ Digital Footprint รวมไปถึงโอกาส และความเสี่ยงของมันแล้วนั้น เรามาดูเทคนิคพื้นฐานการบริหารจัดการ Digital Footprint แบบมืออาชีพกันเพิ่มอีกสักหน่อย

บริหารจัดการ Digital Footprint เชิงกลยุทธ์

การทำ Digital Footprint สามารถแบ่งออกไปเป็น 2 กลยุทธ์หลักๆ ซึ่งก็คือการทำแบบ Active และ Passive

กลยุทธ์แบบ Active คือการทำอย่างตั้งใจเพื่อเพิ่มพูน Digital Footprint เช่นการออกสื่อเพิ่ม Brand and Product Presence การทำ traffic hack โดยนำแบรนด์ไปอยู่ในพื้นที่ของ Authority ซึ่งกลยุทธ์นี้ควรทำต่อไปอย่างสม่ําเสมอเพื่อเพิ่มปริมาณ และโอกาสการเข้าถึง

กลยุทธ์แบบ Passive คือ การทำ Footprint แบบ Reverse Engineer ระบบ วิธีนี้ก็คือเมื่อเราเข้าใจว่าระบบชอบบันทึก หรือ อ่านข้อมูล จดจำเราในลักษณะใด เราก็สามารถทำพฤติกรรมนั้นๆซ้ำๆ แบบตั้งใจโดยทำเป็นธรรมชาติ เช่น การใส่ลิงก์เว็บไซต์ไว้ในลายเซ็นของอีเมล์เสมอ การตอบกระทู้เด็ด หรือ แม้กระทั้งไม่ว่าจะไปที่ไหนๆ ไปเป็น guest speaker ไปประชุมก็ให้มี logo บริษัท หรือ แม้แต่ QRCode ที่สแกนได้

แน่นอน Digital Footprint มีสองด้านเสมอ ด้านแรกคือด้านดีๆ ที่เราอยากให้ผู้บริโภคเห็น และด้านที่เราอยากจะซ่อนให้มิดชิด ในการบริหารจัดการเหรียญด้านที่สองนี้ เราแนะนำว่าควรรีบจัดการให้เหมาะสมอย่างรวดเร็วที่สุด

เช่น ถ้าเราเคยมีกระทู้ต่อว่าอดีตพนักงานที่ให้บริการไม่ดีกับลูกค้าในธุรกิจร้านอาหารของเรา จะจัดการอย่างไรดี เพราะขึ้นอับดับ 1 เลยใน google ถ้าคน Search หาข้อมูลเกี่ยวกับร้านอาหารเรา ถ้ามีคนรีวิวไม่ดี แต่เป็นความจริงที่เกิดข้อผิดพลาดนั้น เราต้องรับมือ แก้ไข หรือ ชี้แจ้งออกไปอย่างไรให้ดูมืออาชีพ และมีความน่าเชื่อถือ ไม่ดูเป็นการสร้างภาพ หรือ ปิดบัง

ข้อควรระวัง คือ อย่าพลาดเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่าคิดว่าเรื่องต่างๆ บนโลกออนไลน์เป็นเรื่อง “แค่นี้เอง” เพราะทุกๆ การกระทำบนโลกออนไลน์สามารถถูกค้นหาได้ทั้งหมด Digital Footprint ที่คุณตั้งใจสิ่ทำให้เกิด ก็ทำไป อะไรที่ไม่ดีไม่ควรก็ให้รีบเอาออกซะก่อนที่รอยเท้านี้จะฝังลึกจนอยากที่จะจัดการ

ไม่ปล่อยให้อดีตไล่ล่า จัดการปัจจุบันให้ดี เตรียมตัวให้พร้อมกับอนาคต

Digital Footprint ก็เปรียบเสมือนชื่อเสียงของแบรนด์ที่ต้องมันดูแลรักษาให้ดีอยู่เสมอ หลักการเชิงกลยุทธ์ที่ Extranice ทำมาตลอด คือ การค้นหาปัญหาเก่าๆ ให้เจอ และหาวิธีแก้ไข (ภาษาวัยรุ่นอาจจะเรียกว่า “ขุด”)  รวมไปถึงตรวจสอบปัญหาที่มี ณ ปัจจุบันว่าอะไรบ้างที่ต้องรีบจัดการให้ไวก่อนที่จะโดนฝังลึก และแก้ปัญหาได้โดยยาก มองหาโอกาสใหม่ๆ ในการสร้าง Digital Footprint เพิ่มอยู่เสมอให้กับอนาคต และที่สำคัญต้องมีการวางแผนล่วงหน้า ประเมินความเสี่ยงกับสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ ฉะนั้นคุณต้องจัดเตรียมความพร้อม และขั้นตอนรับมือกับเมื่อมีเรื่องที่ไม่ต้องการเกิดขึ้น

บริการ Footprint Checkup จากทีมงาน EXTRANICE

ทุกการกระทำ และ ทุกร่องรอยบนโลกอินเตอร์เน็ตมีความหมาย ถ้าคุณต้องการผู้เชี่ยวชาญมาช่วยคุณตรวจสอบ Digital Footprint ของคุณ ที่ Extranice เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ 

วิเคราะห์ Digital Presence ของธุรกิจคุณบนโลกออนไลน์

บริการตรวจเช็ค Digital Footprint ที่คุณมีอยู่ ว่าดีเพียงพอแล้วหรือยัง ? จุดไหนที่ต้องปรับปรุง แก้ไขเพื่อให้ธุรกิจคุณโดดเด่น เข้าถึงง่าย และเป็นที่น่าจดจำในโลกออนไลน์ การวิเคราะนี้จะทำให้คุณรู้ว่าในปัจจุบันคุณมีตัวตนมากน้อยเพียงใดบนโลกดิจิตอล (Digital Presence) ผู้คนพูดอะไรถึงคุณบ้าง และสิ่งนี้จะส่งผลต่อการค้นหา และภาพลักษณ์ของธุรกิจมากขนาดไหน

เปรียบเทียบระหว่างคุณ คู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน

แน่นอนว่าคุณคงไม่อยากที่จะให้คู่แข่งของคุณกอบโกยส่วนแบ่งทางโลกออนไลน์ไป ที่ Extranice เราจะช่วยคุณเปรียบเทียบระหว่างคุณ คู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อให้คุณรู้ว่าตอนนี้คุณกำลังยืนอยู่ตรงจุดไหน มีอะไรที่สามารถปรับปรุงได้ และคู่แข่งของคุณกำลังทำอะไรอยู่

ค้นหาโอกาสที่คุณไม่ควรทิ้งไป และปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว

การวิเคราะ Digital Presence ของเราไม่ได้ทำเพื่อให้คุณทราบว่าตอนนี้คุณมีตัวตนมากน้อยเพียงใดบนโลกดิจิตอล แต่เราจะช่วยคุณค้นหาโอกาสที่คุณไม่ควรทิ้งไป อะไรที่คุณสามารถทำเพิ่มเพื่อสร้าง Digital Presence ที่ทรงพลัง และปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว

พวกเรารอที่จะมอบ Digital Footprint Checkup Booklet ให้กับธุรกิจคุณอยู่ 

หากคุณสนใจบริการทั้งหมด หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดที่เราได้นำเสนอ อย่ารอช้า…คลิกที่ปุ่มด้านล่างเพื่อติดต่อทีมงานได้เลย! พวกเรารอที่จะมอบ Digital Footprint Checkup Booklet ให้กับธุรกิจคุณอยู่ 

เริ่มสร้าง Digital Footprint อย่างมืออาชีพ คลิกที่ปุ่มด้านล่างได้เลย