Signature Identity – ตัวตนออนไลน์ และการสร้างแบรนด์

ทำไมบางครั้งผู้คนถึงรู้สึกทันทีได้ว่า ถ้าเป็นแบบนี้ … ก็คงมีแต่เราเท่านั้นที่ทำ !

สร้างตัวตนที่แตกต่าง และเป็นที่น่าจดจำไปทำไม ?

ทุกวันนี้โลกออนไลน์มีอิทธิพลต่อการทำธุรกิจอย่างมาก ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้คนสามารถซื้อ-ขายได้ทุกที่ทุกเวลา การค้นหา และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ก็เป็นเรื่องง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส แพลตฟอร์มมากมายได้ถือกำเนิดขึ้น ธุรกิจทั่วไปเริ่มหันมาเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายออนไลน์ เมื่อการมีหน้าร้านอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป

เมื่อตัวเลือกในตลาดออนไลน์นั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนไป การค้นหา หรือการ search เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบสินค้าและบริการกลายเป็นเรื่องปกติ การมีตัวตนบนโลกออนไลน์ หรือ Digital Footprint ที่ดีจะทำให้ผู้คนค้นหาคุณได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งเข้าถึงง่าย แนวโน้มที่จะเกิดการสั่งซื้อก็จะยิ่งสูงขึ้นด้วย 

แต่นอกจากการเข้าถึงได้ง่ายแล้ว แน่นอนว่าตัวเลือกมากมาย ก็จะมาพร้อมคู่แข่งที่มากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้ธุรกิจของคุณโดดเด่น เป็นที่จดจำ และไม่จมหายไปในหลุมดำของโลกออนไลน์ก็คือ Online Brand Identity

Online Brand Identity หรือ การสร้างอัตลักษณ์ให้แบรนด์ทางออนไลน์นั้น ไม่ใช่เพียงแค่การมีโลโก้ หรือภาพปกสวยๆอยู่บนเว็บไซต์หรือ
โซเชียลมีเดียอย่างที่หลายๆคนเข้าใจ แต่มันคือตั้งแต่การแสดงออก การปฏิบัติต่อลูกค้า ไม่ว่าจะโทนเสียงเวลาตอบคอมเมนต์ลูกค้า หรือ แม้แต่ข้อความที่สื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน ตรงประเด็น สิ่งเหล่านั้นคืออัตลักษณ์ที่ลูกค้าจะจดจำคุณได้เสมอ เพียงแค่พูดถึงก็นึกออกทันทีว่าแบรนด์ของคุณคืออะไร

หากจะให้อธิบายแบบง่ายๆแล้วล่ะก็ อยากให้ลองคิดดูว่าการสร้างอัตลักษณ์นั้น ก็คือ ตัวละครๆหนึ่ง หรือจะเป็นเพื่อนของคุณเองก็ได้ คุณจะนึกออกทันทีว่าเขามีบุคคลิก พฤติกรรม และหน้าตาเป็นอย่างไรโดยที่เราไม่ต้องอธิบาย หรือพูดเยอะเลย และนั่นแหละเป็นเหตุผลสำคัญที่ว่าทำไมเราต้องมีตัวตนที่แตกต่างและน่าจดจำอยู่บนโลกออนไลน์

เมื่อเราเข้าใจถึงความสำคัญของ Online Brand Identity แล้ว ก็มาทำความรู้จักกับองค์ประกอบของการทำ Online Brand Identity นั้นว่าต้องมีอะไรบ้าง

Business Mood & Tone : เมื่ออารมณ์ มาก่อนเหตุผลในการตัดสินใจ

แบรนด์ที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจ ทำให้ลูกค้ารู้สึกเข้าถึงและสามารถจดจำได้นั้น จะได้เปรียบในการแข่งขันกับสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกัน เพราะเมื่อเวลาที่ลูกค้ามีอารมณ์ร่วมกับแบรนด์มากเท่าไหร่ สิ่งนั้นจะเป็นยิ่งกว่าเครื่องมือ หรือกลยุทธ์ทางการตลาดของคุณในการผลักดัน และดึงดูดลูกค้าในการตัดสินใจซื้อครั้งแล้วครั้งเล่า

ดังนั้นความรู้สึกที่อยากให้ลูกค้าเห็นแบรนด์แล้วรู้สึกต่อแบรนด์เราอย่างไรจึงสำคัญ คุณจำเป็นที่ต้องกำหนด Mood & Tone ที่ชัดเจน และมีรูปแบบการสื่อสารที่เป็นเอกลักษณ์ เพราะเมื่อลูกค้าจดจำเราได้ และเริ่มนำไปแชร์หรือเล่าประสบการณ์ที่มีต่อแบรนด์ของคุณต่อ ตอนนั้นนั่นเองจะเป็นจุดวัดที่ว่าคุณมีตัวตนที่ชัดเจน และแข็งแรงบนโลกออนไลน์พอแล้วหรือยัง

ในการจะกำหนด Mood and Tone ให้ชัดเจนนั้น คุณต้องรู้ว่ากลุ่มลูกค้าของคุณคือใคร อายุประมาณเท่าไหร่ สินค้าหรือบริการของคุณมอบสิ่งใดให้ลูกค้า หรือต้องการให้คนมองว่ามันเป็นอย่างไร  ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น 

ถ้าเราบอกว่าอยากนัดเพื่อน หาอะไรกินเร็วๆ เอาที่สะดวก หาได้ง่ายมีอยู่ทั่วๆไปตามมุมถนน คุณนึกถึงแบรนด์หรือร้านอะไร ?
แต่ถ้าเราบอกว่าอยากนัดเพื่อน หาอะไรกินชิวๆ บรรยากาศดีๆ นั่งทำงาน หรือคุยกันได้นาน คุณยังนึกถึงแบรนด์หรือร้านแรกที่เราถามอยู่ไหม?

จากตัวอย่างเราไม่ได้พูดถึงชื่อแบรนด์ หรือสินค้าเลยด้วยซ้ำ แต่หลายคนๆคงมีแบรนด์ในใจ หรือนึกถึงแบรนด์ที่เกี่ยวข้องออกมาได้ง่ายแน่ๆ
อย่างตัวอย่างแรกหลายๆคนคงก็คงคิดถึง 7-11 หรือ ร้านสะดวกซื้อตามข้างทาง
  และตัวอย่างที่สองหลายๆคนก็คงอาจคิดถึง Starbucks หรือ ร้าน cafe ต่างๆ

จะเห็นได้ ไม่ว่าสิ่งที่ลูกค้าจะเล่า และพูดถึงแบรนด์ของคุณนั้นจะเป็นอย่างไร เขาอาจจะจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าได้ซื้อหรือใช้บริการอะไรคุณไป แต่เขาจะไม่มีวันลืมอารมณ์ และความรู้สึกที่ได้รับและเจอมาอย่างแน่นอน  นั่นแหละคือที่คุณต้องสร้างขึ้นมาให้ลูกค้าสัมผัสมันได้

ถึงแม้แบรนด์ที่ได้ยกตัวอย่างไปข้างบนนี้จะมีการขายสินค้าและบริการ ที่อยู่ในประเภทอาหารและเครื่องดื่มเหมือนกัน แต่เราจะเห็นได้จากประโยคที่พูดในตัวอย่างเลยว่า ฐานลูกค้าของทั้งสองแบรนด์นั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิง จึงทำให้มีการออกแบบ Mood & Tone ที่ต่างกัน เพื่อให้เหมาะกับฐานลูกค้าของแบรนด์นั้นๆ  ไม่ว่าจะตั้งแต่การใช้สีโลโก้ การจัดวางสินค้าที่ขาย รวมถึงการออกแบบบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน แม้กระทั่งวิธีพูดคุยกับลูกค้า หรือสไตล์ของชุดพนักงานเองก็ตาม

และเมื่อพูดถึงโลกออนไลน์นั้น การที่แบรนด์ๆนึงจะสามารถกำหนด Mood & Tone ให้ชัดเจนได้ จึงมีรายละเอียดที่แตกต่างจากออฟไลน์ออกไปบ้าง แต่ก็ยังคงคอนเซ็ปต์เดิมเช่นเคย ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ความรู้สึกตั้งแต่เข้าหน้าแรกของเว็บไซต์ แฟนเพจ หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ การออกแบบหน้าตา การกำหนดสี ฟอนต์ ภาษาที่ใช้ และองค์ประกอบอื่นๆอีกมายมาย

ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงนำไปสู่ตัวช่วยสำคัญอีก 2 อย่างที่ขาดไม่ได้ ที่จะเป็นหลักในการกำหนดตัวตน และสร้าง Online Brand Identity ของคุณ ให้ง่ายขึ้น นั่นก็คือ Online Corporate Identity Guideline  และ Content Pillar Playbook นั่นเอง

Online Corporate Identity Guideline

Online Corporate Identity Guideline คืออะไร? หลายๆคนอาจคิดว่ามันก็คือการทำ Branding นั่นแหละ แต่จริงๆแล้วมันไม่เหมือนกันซะทีเดียว เพราะการทำ Branding นั้นคือส่วนหนึ่งของการทำการตลาด หรือ ก็คือการทำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก และถูกจดจำได้ ซึ่งอาจจะมีหลากหลายวิธีการ แต่การทำ Branding ที่จะทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก และจดจำได้อย่างแม่นยำนั้น จำเป็นจะต้องใช้ Corporate Identity Guidline หรือที่เรียกกันว่า CI เป็นพื้นฐานในการออกแบบสำหรับทุกๆอย่าง และทุกๆเรื่องที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะของแบรนด์นั่นเอง

ถ้าจะอธิบายให้ชัดเจนมากขึ้น CI มันมักถูกให้เห็นอยู่ในรูปของ ชื่อแบรนด์ สี รูปโฆษณา สโลแกน tagline หรือ typeface ที่แสดงออกถึงตัวตนและคุณค่าให้กับแบรนด์ได้อย่างชัดเจน 

สิ่งสำคัญคือทำยังไง ให้หลัก CI ของแบรนด์นั้นๆ สามารถใช้ในการออกแบบ ให้ไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างยืดหยุ่น และสอดคล้อง คงซึ่งเอกลักษณ์ที่ทำให้ลูกค้าจำได้ว่าคือคุณ ถึงแม้ว่าหน้าตา และช่องทางในการโปรโมทบนสื่อทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ต่างๆจะไม่เหมือนกันก็ตาม

ตัวอย่างเช่น 

โลโก้แบบต่างๆ โลโก้หลัก-รอง ทั้งแบบสีเต็ม ขาว-ดำ สีเทา และวิธีการนำโลโก้ไปใช้งาน 

การใช้ Clear Space (พื้นที่ปลอดภัยในการวางโลโก้)

รูปแบบตัวอักษรที่ใช้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ สีหลัก-รอง 

รูปภาพ โทนสีของภาพไปจนถึงทิศทางการใช้รูปภาพ

สิ่งที่ทำได้ สิ่งที่ทำไม่ได้ องค์ประกอบกราฟิกต่างๆ อาทิ ลวดลาย แพทเทิร์น รูปร่าง ลายเส้น ฯลฯ

ซึ่งสิ่งต่างๆที่ยกตัวอย่างไป เป็นเพียงส่วนนึงเท่านั้น ในการออกแบบ CI แบรนด์ๆนึงแน่นอนว่าจะต้องมีรายละเอียดที่ยิบย่อยมากกว่านี้ มันเปรียบเสมือนกฎ และข้อบังคับของแบรนด์นั้นๆที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการทำโฆษณา โปรโมทธุรกิจ ฯลฯ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องยึดหลักของ CI เป็นพื้นฐานก่อนจะนำเสนอสิ่งเหล่านั้นออกสู่สาธารณะเสมอ เพราะยิ่งเมื่ออยู่บนโลกออนไลน์แล้วนั้น การถูกบิดเบือนภาพลักษณ์ของแบรนด์ และข้อความที่สื่อสารออกไปถูกทำได้ง่ายกว่าเดิม

การที่โปรโมทสินค้าหรือบริการของคุณบนโลกออนไลน์ออกไป โดยไม่ยึดหลักของ CI นั้น อาจทำให้ลูกค้าไปซื้อสินค้าและบริการของคู่แข่งแทนของคุณเลยก็ว่าได้ เพียงแค่เพราะเข้าใจภาพและข้อมูลที่เห็นผิดไป ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำบนโลกออนไลน์คุณก็ต้องมี Online Corporate Identity Guideline ไม่แพ้การทำ Corporate Identity บนโลกออฟไลน์เหมือนกัน

Content Pillar Playbook

เรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ของการสร้างแบรนด์ที่น่าจดจำ คือ กลยุทธ์การสื่อสารกับลูกค้า

แบรนด์จะทำอย่างไรให้ลูกค้าเข้าใจตัวตนของแบรนด์ ข้อความที่แบรนด์ต้องการนำเสนอนั้นมีอยู่มากมาย นั่นเป็นเหตุผลที่คุณต้องจัดระเบียบ content หรือเนื้อหาของคุณ เพื่อให้ทุกๆ content ที่ถูกผลิตออกมานั้นสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และทำให้ content marketer ของคุณมีเป้าหมาย และจุดประสงค์ในการเขียน ไม่ใช่เพียงแต่เขียนเนื้อหาที่น่าสนใจไปวันๆ หรือ เขียนแต่สิ่งที่เราอยากบอกอะไรให้ลูกค้ารู้อย่างเดียวเท่านั้น แต่ให้คิดเสมอว่าสิ่งที่เราอยากบอกนั้นลูกค้าจะได้อะไร แบรนด์จะได้อะไร ลูกค้าจะสนใจไหม แล้วถ้าสนใจจะให้เขาทำอะไรต่อ เพื่อให้เขาสามารถซื้อสินค้าหรือบริการของเราต่อได้

กลยุทธ์การสื่อสารนี้มีชื่อเรียกว่า Content Pillar ซึ่งเป็นการจัดระเบียบเนื้อหาต่างๆ ตามหัวข้อให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ต้องการ เปรียบเสมือนการออกแบบโครงสร้างของตึก ว่าควรจะต้องมีเสาหลักกี่เสา แต่ละเสาก็คือจุดประสงค์ของเนื้อหาที่จะเขียน ยกตัวอย่างเช่น

• เสา Brand Education – นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
• เสา Inspiration – การนำเสนอวิสัยทัศน์ของแบรนด์ สร้างภาพลักษณ์ให้เกิดในใจกลุ่มลูกค้าได้อย่างไร และจะสร้างให้ลูกค้าเกิดแรงบันดาลใจต่อแบรนด์ของเราได้อย่างไร
• เสา Promotion – มีไว้ขายโดยเฉพาะ เป็นเนื้อหาที่มุ่งเน้นเรื่องการขาย นำเสนอโปรโมชั่นใหม่ๆ
• เสา Trend – การนำเสนอเนื้อหาเทรนต่างๆ รอบตัวเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับกลุ่มลูกค้า

หรืออาจจะใช้เทคนิคการทำเนื้อหาในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง หรือ กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของกลุ่มลูกค้าเช่น

• เสา Gain – การเขียนเนื้อหาให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เช่นการเน้นเขียนประโยชน์ต่างๆ ที่ลูกค้าจะได้รับหากใช้บริการ หรือ ซื้อสินค้าของคุณ
• เสา Pain – การเขียนเนื้อหาที่มุ่งเน้นไปที่ปัญหาของลูกค้าในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นอุปสรรคต่างๆ และเมื่อลูกค้าใช้บริการ หรือ ซื้อสินค้าของคุณ pain ต่างๆ จะหายไป
• เสา Greed – การเขียนเนื้อหาที่ตอบสนองความโลภและความอยาดได้ของลูกค้า เช่นโปรโมชั่น ลดแลกแจกแถม
• เสา Fear – 
การเขียนเนื้อหาที่มุ่งไปที่ความกลัว และความกังวลของลูกค้า และเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าหรือใช้บริการของคุณความกลัวนั้นก็จะหายไป

Evergreen & Dynamic Content : ตัวตนที่แท้จริง หรือแค่ สื่อประชาสัมพันธ์

เวลานักการตลาดออนไลน์ทำ content ก็จะแบ่งออกเป็น content สองประเภทหลักๆ

ประเภทที่ 1 : Evergreen Content
การทำ Evergreen Content มีจุดประสงค์ที่ทำเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจถึง DNA ของแบรนด์ content รูปแบบนี้จะถูกคิดและทำตั้งแต่ต้นๆ ยกตัวอย่างเช่น content บนหน้าเว็บไซต์ ใน “เกี่ยวกับเรา” การเล่าเรื่องที่มาที่ไปของแบรนด์ อีเมล์ เบอรติดต่อ ที่อยู่ ฯลฯ ตลอดไปถึง About section ใน social media และโพสการแนะนำตัว การที่ content รูปแบบนี้ถูกตั้งชื่อว่า Evergreen ก็เพราะ content รูปแบบนี้จะไม่ล้าสมัย โดยไม่คำนึงถึงเทรนหรือข่าวสารใดๆ ในปัจจุบัน ชื่อของ Evergreen นั้นมาจากต้น Evergreen ซึ่งเป็นต้นไม้ที่คงใบเขียวตลอดทั้งปีสามารถอยู่ไปได้ยาวๆ โดยไม่ถูกกระทบจากรอบ หรือ ฤดูกาล

ประเภทที่ 2 : Dynamic Content
ซึ่ง content ประเภทนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามข้อมูลพฤติกรรมของผู้ใช้ และช่วงเทศกาล ยกตัวอย่างเช่น content โปรโมชั่น 11:11 ซึ่งหน้าที่ของ dynamic content คือการทำให้ลูกค้าได้รับข้อมูลข่าวสารโปรโมชั่นใหม่ๆ ตลอดเวลา เป็น content ที่ไว้เตือนลูกค้าว่า “อย่าลืมฉันนะ แวะมาซื้อของที่ร้านนะ” เพื่อกระตุ้นให้เกิดยอดขายและจำนวนลูกค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

เริ่มสร้าง Signature Identity ของธุรกิจคุณอย่างมืออาชีพ โดยทีมงาน EXTRANICE

การสร้างแบรนด์ๆนึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย และละเอียดอ่อน เพราะนอกจากที่คุณจะต้องมีศิลปะในการเล่าเรื่องราวของแบรนด์ให้น่าจดจำแล้ว คุณยังต้องมีความเข้าใจภูมิทัศน์ของโลกออนไลน์อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม และเครื่องมือการทำโฆษณาต่างๆ 

ที่ Extranice เราจึงให้บริการในการทำ Signature Identity บริการที่เป็นมากกว่าการสร้างแบรนด์ แต่เป็นการรวบรวมทุกอย่างที่ธุรกิจๆนึงต้องทำเพื่อให้มีตัวตนเป็นเอกลักษณ์ และไม่จมหายไปในหลุมดำของโลกออนไลน์ เรามีผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจทั้งโลกออนไลน์ และเข้าใจการสร้างแบรนด์เป็นอย่างดี ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าเราสามารถช่วยคุณได้ บริการ Signature Identity นั้นประกอบไปด้วย…

Online Corperate Identity
การออกแบบ CI สำหรับช่องทางออนไลน์โดยเฉพาะ ได้แก่ โลโก้ การใช้สี ฟอนต์ รูปลักษณ์การทำสื่อต่างๆ mood & tone ของกราฟิกต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในสื่อออนไลน์ ฯลฯ

Content Pillars การวางโครงสร้าง Content เพื่อให้สอดคล้องต่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ของธุรกิจ และแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร Brand Personality การสร้าง Relationship และการนำเสนอโปรโมชั่นให้กลุ่มเป้าหมาย

รวมไปถึงกลยุทธ์การสร้าง Evergreen Content Multiplier ที่จะช่วยส่งเสริมโอกาสในการขายให้คุณนั่นเอง หากคุณกำลังมองหาทีมงานเขียน content ยิงแอด และทำโฆษณา Extranice จะไม่ใช่ผู้ให้บริการที่คุณตามหา เพราะเราโฟกัสการสร้าง content ที่ทำครั้งเดียวจบ และให้คุณนำไปใช้ได้ตลอดกาลในทุกๆ แพลตฟอร์ม ผ่านทีมงาน Production มืออาชีพตั้งแต่ Copywriting จนถึง VDO Introduction เพื่อสื่อถึง Business DNA ของคุณเองโดยเฉพาะ

ถ้าคุณสนใจที่จะใช้บริการที่เรานำเสนอ..คลิกที่ปุ่มด้านล่างเพื่อติดต่อทีมงานได้เลย !

เริ่มสร้าง Digital Footprint อย่างมืออาชีพ คลิกที่ปุ่มด้านล่างได้เลย